บทคัดย่อ วิทยานิพนธ์ ฉบับภาษาไทย


1.การมีส่วนร่วมของประชาชนเกี่ยวกับการกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูลในตำบลยายชา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ของนักศึกษาสถาบันราชภัฏนครปฐม
Abstract: การวิจัยเรื่อง การมีส่วนร่วมของประชาชนเกี่ยวกับการกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูลในตำบลยายชา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เป็นการวิจัยแบบเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนเกี่ยวกับการกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูลในตำบลยายชา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม และปัญหาและอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของประชาชนตำบลยายชา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป และอาศัยอยู่ในตำบลยายชา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ไม่ต่ำกว่า 1 ปี จำนวนทั้งหมด 150 คน วิธีการสุ่มใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 เป็นการสุ่มหมู่บ้านทั้งหมด 6 หมู่บ้าน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย ๆ ได้แก่ หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 6 ขั้นตอนที่ 2 ใช้การสุ่มครัวเรือนในแต่ละหมู่จากขั้นตอนที่ 1 โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย แบ่งตามสัดส่วน ดังนี้ หมู่ 3 ประชากรทั้งหมด 633 สุ่มได้ 40 คน หมู่ 4 ประชากรทั้งหมด 833 สุ่มได้ 53 คน หมู่ 6 ประชากรทั้งหมด 898 สุ่มได้ 57 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์และสังเกตสภาพแวดล้อม แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 คำถามทั่วไปเกี่ยวกับข้อมูลทางสังคม ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับการรับรู้ข้อมูลการกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูล ส่วนที่ 3 การมีส่วนร่วมของประชาชนเกี่ยวกับการกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูล ส่วนที่ 4 คำถามเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการกำจัดขยะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวนและอัตราส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงมาตรฐาน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ ดังนี้ 1. ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่พบว่าเป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 54.00 ในส่วนอายุของกลุ่มตัวอย่างพบว่าส่วนใหญ่อายุระหว่าง 15-24 ปี คิดเป็นร้อยละ 33.33 สำหรับระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างพบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 40.00 ตามลำดับ 2. การรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูลของกลุ่มตัวอย่างในตำบลยายชา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พบว่าเมื่อพิจารณาภาพรวมระดับการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูลของกลุ่มตัวอย่างในตำบลยายชา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พบว่าอยู่ในระดับสูง 3. การมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูลของกลุ่มตัวอย่างในตำบลยายชา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ในภาพรวมพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีส่วนร่วมในการกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูลอยู่ในระดับปานกลาง
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

2.รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาการจัดการท่องเที่ยวตลาดน้ำวัดลำพญา อ.บางเลน จ.นครปฐม
นิดา   บัวงาม
Abstract: " การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแนวทางการศึกษาการจัดการในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว กรณีศึกษาตลาดน้ำวัดลำพญา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการตามหลักการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยศึกษาทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ในการศึกษาเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์นักท่องเที่ยวและพ่อค้า-แม่ค้า ส่วนการศึกษาเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์แนวลึกกับสภาวัฒนธรรม คณะครูอาจารย์โรงเรียนวัดลำพญา (จำเนียรบำรุงวิทย์) วัดลำพญาและคนในท้องถิ่นรวมทั้งการสังเกตพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวและพ่อค้า-แม่ค้า การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้โปรแกรม SPSS/PC ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การพรรณา ผลการศึกษาการจัดการแหล่งท่องเที่ยวตลาดน้ำวัดลำพญาพบว่า นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจในการท่องเที่ยวตลาดน้ำวัดลำพญามาก เพราะตลาดน้ำวัดลำพญายังคงสภาพความเป็นตลาดน้ำโบราณและมีสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ อากาศบริสุทธิ์ มีสินค้าให้เลือกซื้อหลากหลายประเภท ตลาดน้ำวัดลำพญามีการจัดการด้านพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีการจัดการด้านสาธารณูปโภคได้ดี ตลาดน้ำวัดลำพญามีการจัดกิจกรรมไว้รองรับนักท่องเที่ยวหลายรูปแบบและยังเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวและคนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในด้านกิจกรรมต่างๆ คนในท้องถิ่นให้การต้อนรับนักท่องเที่ยว มีอัธยาศัยที่ดี ตลาดน้ำวัดลำพญาได้มีการพัฒนารูปแบบการจัดการตลาดน้ำวัดลำพญาอยู่อย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับจำนวนนักท่องเที่ยว มีการให้ความรู้โดยการจัดการอบรมให้กับคนในท้องถิ่นและพ่อค้า-แม่ค้าให้มีจิตสำนึกในการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว มีการจัดให้มีการแสดงการสาธิตการจักสาน การตำข้าวให้นักท่องเที่ยวได้ทราบถึงกรรมวิธีการทำเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษชาวไทยให้คงอยู่ต่อไป สำหรับแนวทางการศึกษาการจัดการแหล่งท่องเที่ยวตลาดน้ำวัดลำพญา คือ ในระดับนโยบายควรมีรูปแบบการบริหารที่ชัดเจน โดยเน้นการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการด้านพื้นที่ แนวทางสำหรับแต่ละกลุ่มประชากรผลการวิจัยบ่งบอกว่าสามารถแบ่งแนวทางตามกลุ่มประชากร คือ นักท่องเที่ยวควรเน้นความเข้าใจเรื่องสภาพวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติ ด้านคนในท้องถิ่นควรเน้นในเรื่องการให้ความรู้ความเข้าใจในการมีส่วนร่วมในการบริหารตลาดน้ำวัดลำพญาและการเป็นเจ้าบ้านที่ดี ด้านพ่อค้า – แม่ค้า ควรเน้นการบริหารให้มีจิตสำนึกในการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม ด้านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือชี้แนะแก่ทุกกลุ่ม การดำเนินงาน ดูแล ตลาดน้ำวัดลำพญา บุคลากรทุกคนที่มีส่วนร่วมในการบริหารตลาดน้ำวัดลำพญา ต้องมีการปฏิบัติการร่วมกันเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกัน อันจะนำไปสู่ผลสำเร็จของการจัดการแหล่งท่องเที่ยวตลาดน้ำวัดลำพญาไปสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ


3.การมีส่วนร่วมของประชาชนในการรักษาสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
Abstract: การศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการรักษาสิ่งแวดล้อม ; ศึกษากรณีเทศบาลตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน ต่อการจัดการสิ่งแวดล้อม และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อ การมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมของประชาชน เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ( Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือประชาชนที่อาศัยในเขตเทศบาลตำบลนาโยงเหนือ จำนวน 100 ตัวอย่าง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามโดยลักษณะของแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าตามวิธีของลิเคอร์ท มีเกณฑ์การให้คะแนน 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้อัตราส่วนร้อยละ คำนวณหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลนาโยงเหนือ เข้าไปมีส่วนร่วมกับ เทศบาลเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่มีแรงจูงใจที่ทำให้เข้าร่วมมาจาก การเห็นว่าเป็นความรับผิดชอบของทุกคนในชุมชนต่อสิ่งแวดล้อม จำนวน 46 คน คิดเป็นร้อยละ 46 และรองลงมามีแรงจูงใจมาจากการเล็งเห็นประโยชน์จากการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 25 และน้อยที่สุด คือ การไม่พอใจการทำงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบ จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1 2. มีความคิดเห็นเกี่ยวกับ แผนงาน โครงการด้านสิ่งแวดล้อมที่ทางเทศบาลนาโยงเหนือจัดทำขึ้นในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางมีค่าคะแนนเฉลี่ยรวม เท่ากับ 3.62 ค่า SD รวม เท่ากับ 0.80 โดยเห็นว่า การจัดทำโครงการด้านสิ่งแวดล้อมของทางเทศบาลตรงกับความต้องการของประชาชนอยู่ในระดับมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 3.70 ค่า SD เท่ากับ 0.88 ทางเทศบาลมีการประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นให้เข้าร่วมกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับปานกลางมีค่าคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 3.67 ค่า SD เท่ากับ 0.92 และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและประเมินผลโครงการน้อยที่สุดมีค่าคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 3.46 ค่า SD เท่ากับ 0.99 อาจเนื่องมาจากประชาชนยังขาดความรู้ในด้านการตรวจสอบและประเมินผล จึงคิดว่าการประเมินผลเป็นหน้าที่ของทางเทศบาลในการดำเนินการ 3. ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด มีค่าคะแนนเฉลี่ยรวม เท่ากับ 3.50 มีค่า SD รวม เท่ากับ 0.74 คือ การดำเนินการ รองลงมา คือ การติดตามและประเมินผล มีค่าคะแนนเฉลี่ยรวม เท่ากับ 3.09 มีค่า SD รวม เท่ากับ 0.89 และการวางแผนและกำหนดปัญหา มีค่าคะแนนเฉลี่ยรวม เท่ากับ 3.07 ค่า SD รวม เท่ากับ 0.93 ตามลำดับ 4. การศึกษาครั้งนี้ ได้กำหนดสมมติฐานว่า ระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมของประชาชน จะแตกต่างกันตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพหลัก รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และแรงจูงใจในการมีส่วนร่วม ผลการทดสอบพบว่า ตัวแปร ด้านระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน จะมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันตามนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับ ตัวแปรด้าน เพศ อายุ อาชีพหลัก รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และแรงจูงใจในการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน จะมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ 1. เพื่อให้การมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เทศบาล ควรมีการอบรมประชาชนเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อสร้างจิตสำนึกในการร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน 2. ด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม ประชาชนควรได้รับการแต่งตั้ง หรือรับเชิญเป็นคณะกรรมการ หรือคณะทำงานในการกำหนดปัญหา และวางแผนการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในชุมชน และร่วมให้ข้อเสนอแนะและติดตามผลการดำเนินงาน 3. การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารในการรักษาสิ่งแวดล้อม ทางเทศบาลควรมีการประชาสัมพันธ์โครงการด้านสิ่งแวดล้อมให้ประชาชนได้รับทราบอย่างทั่วถึง โดยต้องตระหนัก และเร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์ถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมให้กับประชาชน ตลอดจนข้อกำหนดที่ประชาชนต้องปฏิบัติในการรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น การทิ้งขยะมูลฝอย ให้ประชาชนได้รับทราบ มิฉะนั้นแล้วการรักษาสิ่งแวดล้อมก็จะยังคงเป็นปัญหาและไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชนเท่าที่ควรดังเช่นที่ผ่านมา
sirindhorn college of public health trang


4.การศึกษาสภาพและความต้องการในการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามทัศนะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดนครราชสีมา
บุญยิ่ง  เทศน้อย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการในการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามทัศนะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 6 ด้าน คือ ด้านตัวเด็ก ด้านผู้ดูแลเด็ก ด้านคณะกรรมการพัฒนาเด็ก ด้านอาคารสถานที่ ด้านการจัดกิจกรรมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อทราบสภาพและความต้องการในการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และ เปรียบเทียบสภาพ และความต้องการในการดำเนินงานจำแนกตามระดับการศึกษา อายุ จำนวนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบล และชั้นขององค์การบริหารส่วนตำบลที่กรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลสังกัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครราชสีมา ที่ดำรงตำแหน่งในปีงบประมาณ 2544 จำนวน 173 คน ได้กลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า จัดอันดับชนิด 5 อันดับ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t - test) ผลการศึกษาพบว่า 1. กรรมการองค์การบริหารส่วนตำบล ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาระดับมัธยมศึกษา หรือสูงกว่ามัธยมศึกษา มีอายุตั้งแต่ 41 ปีขึ้นไป มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในความรับผิดชอบ จำนวน 1 ศูนย์ และสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลชั้น 5 2. สภาพการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามทัศนะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง 3. ความต้องการในการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตามทัศนะกรรมการบริหาร องค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 4. เปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามทัศนะกรรมการบริหาร องค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดนครราชสีมา พบว่า กรรมการบริหารองค์การบริหาร ส่วนตำบลที่มีระดับการศึกษา อายุ จำนวนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่องค์การบริหารส่วนตำบล รับผิดชอบ และชั้นขององค์การบริหารส่วนตำบลที่กรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลสังกัดต่างกัน มีทัศนะต่อสภาพการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีระดับการดำเนินงาน โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05 ยกเว้นกรรมการบริหาร องค์การบริหารส่วนตำบลที่มีอายุต่ำกว่า 41 ปี และอายุ 41 ปีขึ้นไป มีทัศนะต่อการ ดำเนินงานทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกรรมการบริหาร องค์การบริหารส่วนตำบลที่สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลชั้น 2-4 และ ชั้น 5 มีทัศนะต่อสภาพการดำเนินงานด้านตัวเด็ก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. เปรียบเทียบความต้องการในการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามทัศนะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดนครราชสีมา พบว่า กรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีระดับการศึกษา อายุ จำนวนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่องค์การบริหารส่วนตำบลรับผิดชอบ และชั้นขององค์การบริหารส่วนตำบลที่กรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลสังกัดต่างกัน มีทัศนะต่อสภาพการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีระดับ การดำเนินงานโดยภาพรวม และรายด้าน ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ


ผลของการใช้แนวคิดการทำงานแบบร่วมมือ ในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบโรงเรียน

ยิ่ง กิรติบูรณะ
Abstract: เสาะหาระบบการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม เพื่อก่อให้เกิดผลความร่วมมือเพื่อให้ข้อมูลเชิงวิชาการ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการการศึกษานอกโรงเรียน ของกรมการศึกษานอกโรงเรียน มีการพัฒนาคุณภาพ สร้างความสมดุลระหว่างระบบการดำเนินงานกับการมีส่วนร่วม โดยใช้เทคนิคเดลฟายในการหารูปแบบเพื่อใช้รูปแบบในการวิจัยภาคสนาม เป็นระยะเวลา 3 เดือนติดต่อกัน และนำผลการวิจัยจากการปฏิบัติจริงภาคสนามมาอภิปราย เพื่อปรับปรุงรูปแบบให้สามารถนำไปประยุกต์ได้ในสถานการณ์จริง ของการจัดการศึกษาของหน่วยงานการศึกษานอกโรงเรียนระดับจังหวัดและอำเภอ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด และศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ 5 จังหวัดและ 5 อำเภอ จากประชากรศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดในเขตภาคกลางซึ่งมี 17 จังหวัด โดยการสุ่มอย่างง่าย และเลือกศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอในจังหวัดตัวอย่าง จังหวัดละ 1 อำเภอ โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย บุคลากรในจังหวัดและอำเภอตัวอย่างที่ได้รับเกียรติ ให้ร่วมงานวิจัยครั้งนี้ได้ใช้ขนาดตัวอย่างบุคลากรในจังหวัด และอำเภอตัวอย่างที่ประสงค์จะร่วมการทดลองปฏิบัติจริงภาคสนามจำนวน 116 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยนี้คือ แบบสอบถาม แบบวัดผลความร่วมมือ และการสัมมนาแบบเจาะลึก (Indept Seminar) วิเคราะห์และประมวลผล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS10.0.1 สถิติที่ใช้คือการแจกแจงความถี่ฐานนิยม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t-paired เพื่อให้ผลงานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ได้ตรงตามความต้องการ ของประชากรของหน่วยงานการศึกษานอกโรงเรียน สังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน งานวิจัยครั้งนี้ได้สำรวจความต้องการการมีระบบการดำเนินงาน แบบมีส่วนร่วมจากประชากร ซึ่งเป็นบุคลากรในหน่วยงานการศึกษานอกโรงเรียน ระดับจังหวัดและอำเภอทั่วประเทศรวม 76 จังหวัด และ 816 อำเภอ กับทั้งได้สำรวจสภาพระบบการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม ที่มีอยู่จริงในปัจจุบันพบว่า ประชากรส่วนใหญ่และเกือบทุกคนมีความต้องการระบบการดำเนินงาน แบบมีส่วนร่วมสูงกว่าระบบการดำเนินงานที่เป็นอยู่จริงในปัจจุบันมาก จากผลการเสาะหารูปแบบระบบการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม โดยให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 26 คน ร่วมพิจารณาตามเทคนิคเดลฟาย 2 รอบ โดยอาศัยแนวคิดระบบการดำเนินงานของเดมมิ่งผสมผสาน กับแนวคิดความร่วมมือของ Cohen และ Unhoff พบว่าส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่ารูปแบบผสมผสานแนวคิดความร่วมมือของ Deming และ แนวคิดของ Coohen และ Unhoff เป็นรูปแบบที่สามารถนำไปประยุกต์ ...
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้